วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แหล่งที่มาของยาและรูปแบบของยาที่ใช้

แหล่งที่มาของยาและรูปแบบของยาที่ใช้
2.1.2 แหล่งที่มาของยาและรูปแบบของยาที่ใช้
2.1.2.1 ยามาจากแหล่งที่สำคัญ 2 แหล่งใหญ่ๆ คือ1. ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ได้แก่ พวกสมุนไพร ซึ่งได้มาจาก1.1 พืช ได้จากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ตัวยารีเซอฟีนสกัดจากรากของต้นระย่อม ใช้ลดความดันเลือดสูง หรือมอร์ฟีน สกัดจากยางของฝิ่น ใช้เป็นยาระงับปวดหรือ ควินินสกัดจากเปลือกต้นซิงโคนาใช้รักษามาลาเรีย เป็นต้น1.2 สัตว์ ได้จากอวัยวะต่างๆ ของสัตว์ เช่น อินซูลินจากตับอ่อนของหมูและวัว1.3 แร่ธาตุ เช่น คาโอลิน และกำมะถัน เป็นต้น2. ยาสังเคราะห์ ยาที่ใช้รักษาโรคมาตั้งแต่สมัยโบราณ ส่วนใหญ่ได้มาจากสมุนไพรมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของประชาชนที่นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยาแผนปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้ส่วนใหญ่ได้มาจากการสังเคราะห์ทางเคมี อาจเป็นยาสังเคราะห์เลียนแบบสารที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ยาคลอแรมเฟนิคอล หรือเป็นอนุพันธ์ของสารที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ยาปฏิชีวนะ หรือยาสังเคราะห์ที่มิได้ปรากฏในธรรมชาติ เช่น ยาอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ สารสังเคราะห์หรือกึ่งสังเคราะห์เหล่านี้ อาจมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาใกล้เคียง หรือแตกต่างจากสารที่ได้จากธรรมชาติก็ได้
2.1.2.2 รูปแบบของยาเภสัชภัณฑ์ หรือยาเตรียม หมายถึง ยารักษาโรคซึ่งถูกปรุงแต่งขึ้นในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมในการใช้ สะดวกปลอดภัย และได้ยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค รูปแบบต่างๆ ของเภสัชภัณฑ์ที่ใช้เป็นยาภายในและภายนอก แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ 4 ประการ ตามลักษณะดังต่อไปนี้1. เภสัชภัณฑ์รูปแบบของเหลว มี 2 ชนิด1.1 ยาน้ำสารละลาย ตัวอย่าง ยาน้ำใส ยาน้ำเชื่อม และยาอมบ้วนปาก เป็นต้น1.2 น้ำยากระจายตัว ตัวอย่าง ยาน้ำผสม ยาน้ำแขวนตะกอน และยาอิมัลชัน เป็นต้น2. เภสัชภัณฑ์รูปแบบของแข็ง ตัวอย่าง ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาผงฟู่ ยาอม และยาเหน็บ เป็นต้น3. เภสัชภัณฑ์รูปแบบกึ่งแข็ง ตัวอย่าง ยาขี้ผึ้ง ยาครีม และยาเจล เป็นต้น4. เภสัชภัณฑ์รูปแบบอื่นๆ ตัวอย่าง ยาสูดดม ยาแอโรโซล และยาพ่นฝอย เป็นต้นรูปแบบของยาแต่ละชนิดอาจมีได้มากกว่า 1 รูป ในแต่ละทางที่บริหารยา เช่น ทางปาก รูปแบบยา มียาเม็ด ยาแคปซูล ยาน้ำเชื่อม ยาน้ำแขวนลอย ยาอิมัลชัน และยาผง
วัตถุประสงค์ในการทำยาในรูปแบบต่างๆ
1. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประทานยาในขนาดที่ถูกต้อง ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษาโรค2. ป้องกันการสลายตัวของยา ตัวยาบางอย่างจะสลายตัวเมื่อถูกอากาศและความชื้นจึงทำในรูปยาเม็ดเคลือบน้ำตาลหรือฟิล์ม3. กลบรสตัวยาที่ไม่น่ารับประทาน เช่น ยาแคปซูล4. เหมาะสำหรับเด็กหรือผู้สูงอายุที่กลืนยาเม็ด ยาแคปซูลไม่ได้ เช่น ยาน้ำผสม ยาน้ำแขวนตะกอน เป็นต้น5. เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ติดต่อกันนาน ไม่ต้องรับประทานยาบ่อยครั้ง เช่น ยาเม็ดชนิดออกฤทธิ์เนิ่นนาน6. ต้องการใช้เป็นยาภายนอก ใช้สำหรับผิวหนัง ยาขี้ผึ้ง ครีม หรือใช้เฉพาะที่ เช่น ยาตายาหู และยาจมูก เป็นต้น7. ใช้สอดเข้าช่องต่างๆ ของร่างกาย เช่น ยาเหน็บทวารหนัก และยาเหน็บช่องคลอดเป็นต้น8. ต้องการให้ยาเข้าสู่หลอดเลือด หรือเนื้อเยื่อของร่างกายโดยตรง ทำให้ออกฤทธิ์เร็ว เช่น ยาฉีด9. ต้องการให้ตัวยาออกฤทธิ์โดยผ่านระบบสูดดม เช่น ยาสูดดม หรือยาแอโรโซล เป็นต้น10. ต้องการให้ตัวยาออกฤทธิ์โดยระบบนำส่งผ่านผิวหนัง เพื่อให้ตัวยาดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดช้าๆ
2.2 วิธีการใช้ยา
การใช้ยารักษาโรคถ้าจะให้ได้ผลในทางรักษา ผู้ใช้ยาจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ต้องศึกษาหาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับยาที่จะใช้ อาจสอบถามจากแพทย์ เภสัชกร หรืออ่านจากหนังสือ หรืออ่านเอกสารทางยาและอื่นๆ ข้อมูลสำคัญที่นักศึกษาหรือผู้ใช้ยาควรทราบและใส่ใจเป็นพิเศษ
2.2.1 การดูฉลากยาและเอกสารกำกับยา
ก่อนการใช้ยา ต้องอ่านฉลากยาทุกครั้ง เพื่อป้องกันการหยิบยาผิด และเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา ควรต้องอ่านฉลากกำกับยาเพื่อทำความเข้าใจให้ชัดเจนเกี่ยวกับ สรรพคุณ ขนาดยา ความแรง วิธีใช้ ข้อห้าม ข้อแนะนำและคำเตือน วันผลิตและวันหมดอายุของยา อุณหภูมิที่เก็บยา การอ่านฉลากและเอกสารกำกับยาอย่างละเอียดก็เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการใช้ยามากที่สุด ต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่มีบนฉลากยา ซึ่งผู้ใช้ยาควรใส่ใจ1. ชื่อยายาแต่ละตัวมีชื่อ 3 ชื่อด้วยกันคือชื่อสามัญทางยา (Generic Name) จัดเป็นชื่อที่สำคัญที่สุดในทางเภสัช เพราะเป็นชื่อที่ถูกตั้งเพื่อเป็นมาตรฐานในการสื่อกัน แทนที่จะใช้ชื่อทางเคมี ซึ่งเป็นชื่อที่ยาวมาก ซับซ้อน นอกจากนี้ยังเป็นชื่อที่ใช้กันทั่วโลก จะมียกเว้นยาบางตัวเท่านั้น ได้แก่Paracetamol ที่ USA เรียกว่า AcetaminophenSalbutamol ที่ USA เรียกว่า Albuterolชื่อทางเคมี (Chemical Name) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามระบบวิธีตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ จากชื่อนี้สามารถแสดงให้เห็นว่า ยานั้นมีโครงสร้างอย่างไร ชื่อนี้จะเป็นชื่อที่ยาวมาก จำยาก ใช้เป็นชื่ออ้างอิงทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น เช่นErgotamine tartrate มีชื่อทางเคมีว่า Ergotaman-3’, 6’, 18-trione 12’-hydroxy-2’-menthyl-5’-(alpha)-[R-(R*,R*)]-2, 3-dihydroxybutanedioate(2:1)(tartrate)ชื่อทางการค้า (Trade Name) ชื่อที่บริษัทผู้ขายตั้งขึ้นเอง เพื่อให้เรียกง่าย และใช้ในการโฆษณา ทำให้ติดปาก ผู้ใช้ยาเรียกชื่อการค้าแทนในฐานะผู้ใช้ยาควรที่จะทำความรู้จักกับชื่อสามัญของยามากกว่าที่จะใช้ชื่อทางการค้า เพราะจะเป็นวิธีที่ปกป้องตัวเองได้ดีกว่า และเป็นการประหยัดมากกว่า อย่างไรก็ตาม มาตรฐานในการผลิตยาของบางบริษัทก็จัดอยู่ในขั้นแย่มาก ดังนั้นการซื้อยาควรจะระบุชื่อทางการค้า และเลือกร้านขายยาที่ท่านวางใจด้วย2. เลขทะเบียนตำรับยามักมีคำว่า Reg.No ส่วนเลขที่แสดงต่อท้ายอักษร ภาษาอังกฤษ คือ เลขลำดับที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาและทับเลขท้ายของปี พ.ศ.ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน3. ปริมาณหรือขนาดบรรจุของยา เช่น ยาเม็ด4. เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิตหรือวิเคราะห์ซึ่งมักใช้คำย่อเป็นภาษาอังกฤษ เช่นLotono., Cont.No., Batch No. หรือ L,C,L/C,B/C5. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตยา ยาที่ผลิตในประเทศต้องมีชื่อผู้ผลิต จังหวัดที่ตั้งสถานที่ผลิตยาด้วย6. วันเดือนปี ที่ผลิตยามักมีคำย่อภาษาอังกฤษ Mfd. หรือ Mfg date. แล้วตามด้วยวันเดือนปีที่ผลิต หากยานั้นผลิตมาเกิน 5 ปี ก็ไม่ควรนำมารับประทาน ส่วนยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ จะมีการระบุวันที่หมดอายุ โดยมีคำย่อว่า Exp.Date ซึ่งย่อมาจาก Expiration Date แล้วตามด้วยวันเดือนปีที่ผลิตยานั้นหมดอายุ โดยใช้คำว่า use before7. คำว่า “ยาอันตราย” “ยาควบคุมพิเศษ” หรือ “ยาใช้ภายนอก” แล้วแต่กรณีซึ่งจะเขียนด้วยอักษรสีแดงอ่านได้ชัดเจน8. วิธีใช้และคำเตือน การจัดให้มีคำเตือนไว้บนฉลาก และเอกสารกำกับยานั้นใช้สำหรับยาที่รัฐมนตรีประกาศหรือกรณีที่กฎหมายบังคับสำหรับตำรับยาที่มีตัวยาสำคัญตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป เลขทะเบียนตำรับยาจะขึ้นต้นด้วย 2Aยาที่ใช้สำหรับสัตว์ อักษรย่อภาษาอังกฤษจะเป็น D……, คือยาที่ผลิตในประเทศคือ E….คือ ยาที่นำหรือสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ แล้วมาบรรจุและ F…..คือ ยาที่นำสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ ยาที่เป็นแผนโบราณอักษรภาษาอังกฤษก็จะเป็น G……คือ ยาที่ผลิตในประเทศ H…..คือ ยาที่แบ่งบรรจุ และ K…..คือ ยาที่นำสั่งเข้ามาจากต่างประเทศแล้วตามด้วยเลขลำดับที่ได้รับอนุญาตและปี พ.ศ.ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนดังตารางแสดง
ยาแผนปัจจุบัน1A : ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ (แผนปัจจุบัน) (ยาเดี่ยว)1B : ยามนุษย์แบ่งบรรจุ (แผนปัจจุบัน) (ยาเดี่ยว)1C : ยามนุษย์นำหรือสั่งเข้าฯ (แผนปัจจุบัน) (ยาเดี่ยว)1D : ยาสัตว์ผลิตภายในประเทศ (แผนปัจจุบัน) (ยาเดี่ยว)1E : ยาสัตว์แบ่งบรรจุ (แผนปัจจุบัน) (ยาเดี่ยว)1F : ยาสัตว์นำหรือสั่งเข้า (แผนปัจจุบัน) (ยาเดี่ยว)2A : ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ (แผนปัจจุบัน) (ยาผสม)2B : ยามนุษย์แบ่งบรรจุ (แผนปัจจุบัน) (ยาผสม)2C : ยามนุษย์นำหรือสั่งเข้าฯ (แผนปัจจุบัน) (ยาผสม)2D : ยาสัตว์ผลิตภายในประเทศ (แผนปัจจุบัน) (ยาผสม)2E : ยาสัตว์บรรจุ (แผนปัจจุบัน) (ยาผสม)2F : ยาสัตว์นำหรือสั่งเข้าฯ (แผนปัจจุบัน) (ยาผสม)
ยาแผนโบราณG : ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ (แผนโบราณ)H : ยามนุษย์แบ่งบรรจุ (แผนโบราณ)K : ยามนุษย์นำหรือสั่งเข้าฯ (แผนโบราณ)L : ยาสัตว์ผลิตภายในประเทศ(แผนโบราณ)M : ยาสัตว์แบ่งบรรจุ (แผนโบราณ)N: ยาสัตว์นำหรือสั่งเข้าฯ (แผนโบราณ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น